แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การแก้ไขปัญหาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เวลา 1-2
ชั่วโมง
1. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ปัจจุบันมีปัญหาท้องถิ่นทางด้านสังคม
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไข
ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 ตัวชี้วัด
ม.3/2 มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จุดประสงค์การเรียนรู้
1) วิเคราะห์ปัญหาท้องถิ่นของไทยทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมได้
2) เสนอแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
3. สาระการเรียนรู้
3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) สำรวจสภาพปัจจุบันปัญหาท้องถิ่นทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อม
2) วิเคราะห์ปัญหาของท้องถิ่นโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) แนวทางการแก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการวิเคราะห์
2) ทักษะการแก้ปัญหา
4.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
6. กิจกรรมการเรียนรู้
& วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA
Model)
ชั่วโมงที่ 1
Ü นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ
ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิม
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ : —
1.
ครูตั้งปัญหาทบทวนความรู้เดิม
ดังนี้
1)
ปัญหาในท้องถิ่นที่นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่นั้นมีอะไรบ้าง
2)
มีการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง และผลของการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร
2.
นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
คำถามกระตุ้นความคิด
นักเรียนคิดว่า
ปัญหาในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้นจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนา
ประเทศอย่างไรบ้าง
ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ : 1. หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์
ม.3 2.
หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
3. ห้องสมุด 4.
แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
1. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
คำถามกระตุ้นความคิด
ปัญหาเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับปัญหาทางสังคมอย่างไรบ้าง
(เมื่อประชาชนมีความยากจน
ไม่มีช่องทางหารายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวอาจนำไปสู่การ
ตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง
ไปประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด
ลักขโมย ทำความเดือดร้อน
แก่ผู้อื่น)
2. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
กลุ่มละ 6 คน คละกันตามความสามารถ คือ
เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง
ปานกลาง ค่อนข้างอ่อน และอ่อน
3. สมาชิกแต่ละกลุ่มเลือกผู้นำ และเลขานุการกลุ่ม
แล้วแบ่งหน้าที่กันแสวงหาความรู้จากหนังสือเรียน
หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
และแหล่งข้อมูลสารสนเทศ
4. สมาชิกในแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 3 คู่
ให้แต่ละคู่ศึกษาข้อมูลคู่ละ 1 ประเด็น ดังนี้
-
คู่ที่ 1
ปัญหาทางด้านสังคม
- คู่ที่ 2
ปัญหาเศรษฐกิจ
-
คู่ที่ 3 ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
ขั้นที่ 3 ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่
และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
สื่อการเรียนรู้ : 1. หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.3
2.
ใบงานที่ 1.1-1.3
1. สมาชิกแต่ละคู่ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลความรู้ใหม่
และนำความรู้เดิมมาเป็นพื้นฐานในการทำ
ใบงาน ดังนี้
-
คู่ที่ 1 ทำใบงานที่
1.1 เรื่อง ปัญหาทางด้านสังคม
-
คู่ที่ 2 ทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจ
-
คู่ที่ 3 ทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง
ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
2. สมาชิกแต่ละคู่ร่วมกันตรวจสอบผลงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบ
ชั่วโมงที่ 2
ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
สื่อการเรียนรู้ : ใบงานที่ 1.1-1.3
1. นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันอธิบายความรู้ที่ตนได้ศึกษามาและอภิปรายผลงานในใบงานที่คู่ของตน
รับผิดชอบ
2. สมาชิกทุกคนในแต่ละกลุ่มผลัดกันซักถามข้อสงสัยจนมีความเข้าใจตรงกัน
3. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่
1.1-1.3
ขั้นที่ 5 สรุปและจัดระเบียบความรู้
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ : —
1.
สมาชิกในกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้แล้วเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
คำถามกระตุ้นความคิด
การแก้ไขปัญหาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น
จะต้องปลูกฝังให้
ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณลักษณะอย่างไร
(มีความพอประมาณ มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี)
ขั้นที่ 6 ปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ : —
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
และการพัฒนาท้องถิ่น
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วบันทึกลงในใบงานที่
1.4 เรื่อง การวางแผนปฏิบัติในการ
แก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่น
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
แล้วรายงานผลการปฏิบัติต่อครูผู้สอนตามกำหนดเวลาที่
ได้ตกลงกัน
3.
นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
คำถามกระตุ้นความคิด
นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรบ้าง
ขั้นที่ 7 ประยุกต์ใช้ความรู้
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ : —
1.
ครูให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่นไปประยุกต์ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
2. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
คำถามกระตุ้นความคิด
นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการแนะนำบุคคลในท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรบ้าง
7. การวัดและประเมินผล
วิธีการ
|
เครื่องมือ
|
เกณฑ์
|
ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
|
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
|
(ประเมินตามสภาพจริง)
|
ตรวจใบงานที่ 1.1
|
ใบงานที่ 1.1
|
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
|
ตรวจใบงานที่ 1.2
|
ใบงานที่ 1.2
|
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
|
ตรวจใบงานที่ 1.3
|
ใบงานที่ 1.3
|
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
|
ตรวจใบงานที่ 1.4
|
ใบงานที่ 1.4
|
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
|
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
|
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
|
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
|
สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้
และมุ่งมั่นในการทำงาน
|
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
|
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
|
8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.3
2) หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
(1) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
(2544). ตามรอยพระยุคลบาทสู่เศรษฐกิจพอเพียง : มิติใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ปัญหาทางด้านสังคม
4) ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจ
5) ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
6) ใบงานที่ 1.4 เรื่อง
การวางแผนปฏิบัติในการแก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่น
8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องสมุด
2) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
- http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
๓._ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับบริบทการพัฒนาประเทศ
- http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html