วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการสอน ม.3


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1    การแก้ไขปัญหาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เวลา  1-2  ชั่วโมง
1.   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
      ปัจจุบันมีปัญหาท้องถิ่นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
2.   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
      2.1    ตัวชี้วัด
                ม.3/2   มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                                  จุดประสงค์การเรียนรู้
                1)  วิเคราะห์ปัญหาท้องถิ่นของไทยทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมได้
                2)  เสนอแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
3.   สาระการเรียนรู้
3.1       สาระการเรียนรู้แกนกลาง
                1)  สำรวจสภาพปัจจุบันปัญหาท้องถิ่นทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
                2)  วิเคราะห์ปัญหาของท้องถิ่นโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                3)  แนวทางการแก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
4.   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
      4.1    ความสามารถในการสื่อสาร
      4.2    ความสามารถในการคิด
                1)  ทักษะการวิเคราะห์                        
                2)  ทักษะการแก้ปัญหา
      4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์
      1.   มีวินัย                                                                                                      
      2.   ใฝ่เรียนรู้
      3.   มุ่งมั่นในการทำงาน
6.   กิจกรรมการเรียนรู้
             & วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model)

ชั่วโมงที่ 1
Ü      นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ
ขั้นที่  ทบทวนความรู้เดิม
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   —
    1.   ครูตั้งปัญหาทบทวนความรู้เดิม  ดังนี้
          1) ปัญหาในท้องถิ่นที่นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่นั้นมีอะไรบ้าง
          2) มีการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง และผลของการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร 
    2.   นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
                         คำถามกระตุ้นความคิด
                              Ÿ    นักเรียนคิดว่า ปัญหาในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้นจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนา  
           ประเทศอย่างไรบ้าง
ขั้นที่  แสวงหาความรู้ใหม่
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   1.  หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.3     2.  หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
                                       3.  ห้องสมุด                                        4.  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
      1.   นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
                         คำถามกระตุ้นความคิด
                              Ÿ    ปัญหาเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับปัญหาทางสังคมอย่างไรบ้าง
            (เมื่อประชาชนมีความยากจน ไม่มีช่องทางหารายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวอาจนำไปสู่การ
           ตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง ไปประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด  ลักขโมย ทำความเดือดร้อน
           แก่ผู้อื่น)
      2.   ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน คละกันตามความสามารถ        คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง
          ปานกลาง  ค่อนข้างอ่อน และอ่อน
     3.   สมาชิกแต่ละกลุ่มเลือกผู้นำ และเลขานุการกลุ่ม แล้วแบ่งหน้าที่กันแสวงหาความรู้จากหนังสือเรียน
          หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม และแหล่งข้อมูลสารสนเทศ
      4.   สมาชิกในแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 3 คู่ ให้แต่ละคู่ศึกษาข้อมูลคู่ละ  1 ประเด็น ดังนี้
         -  คู่ที่ 1  ปัญหาทางด้านสังคม                 
         คู่ที่ 2  ปัญหาเศรษฐกิจ
         -  คู่ที่ 3  ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
ขั้นที่  ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
สื่อการเรียนรู้   :   1.  หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.3
                                2.  ใบงานที่ 1.1-1.3
      1.   สมาชิกแต่ละคู่ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลความรู้ใหม่ และนำความรู้เดิมมาเป็นพื้นฐานในการทำ
          ใบงาน ดังนี้
         -  คู่ที่ 1  ทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ปัญหาทางด้านสังคม
         -  คู่ที่ 2  ทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจ
         -  คู่ที่ 3  ทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
      2.   สมาชิกแต่ละคู่ร่วมกันตรวจสอบผลงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบ
ชั่วโมงที่ 2
ขั้นที่  4  แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
สื่อการเรียนรู้   :   ใบงานที่ 1.1-1.3
    1.     นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันอธิบายความรู้ที่ตนได้ศึกษามาและอภิปรายผลงานในใบงานที่คู่ของตน
          รับผิดชอบ
    2.     สมาชิกทุกคนในแต่ละกลุ่มผลัดกันซักถามข้อสงสัยจนมีความเข้าใจตรงกัน 
    3.  ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1-1.3
ขั้นที่  5  สรุปและจัดระเบียบความรู้
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   —
1.      สมาชิกในกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้แล้วเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2.   นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
                         คำถามกระตุ้นความคิด
                              Ÿ    การแก้ไขปัญหาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องปลูกฝังให้
          ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณลักษณะอย่างไร
                                   (มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี)
ขั้นที่  6  ปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   —
    1.     นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และการพัฒนาท้องถิ่น
          ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วบันทึกลงในใบงานที่ 1.4 เรื่อง การวางแผนปฏิบัติในการ
           แก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่น
    2.     นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ แล้วรายงานผลการปฏิบัติต่อครูผู้สอนตามกำหนดเวลาที่
          ได้ตกลงกัน
    3.    นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
                         คำถามกระตุ้นความคิด
                              Ÿ    นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรบ้าง
ขั้นที่  7  ประยุกต์ใช้ความรู้
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   —
1.      ครูให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่นไปประยุกต์ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
    2.    นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
                         คำถามกระตุ้นความคิด
                              Ÿ    นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการแนะนำบุคคลในท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญา
            ของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรบ้าง
7.   การวัดและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
(ประเมินตามสภาพจริง)
ตรวจใบงานที่ 1.1
ใบงานที่ 1.1
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.2
ใบงานที่ 1.2
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.3
ใบงานที่ 1.3
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.4
ใบงานที่ 1.4
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

8.   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
      8.1    สื่อการเรียนรู้
                1)  หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.3
                2)  หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
(1)  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2544). ตามรอยพระยุคลบาทสู่เศรษฐกิจพอเพียง :   มิติใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
                3)  ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ปัญหาทางด้านสังคม                                
                4)  ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจ
                5)  ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
                6)  ใบงานที่ 1.4 เรื่อง การวางแผนปฏิบัติในการแก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่น
      8.2    แหล่งการเรียนรู้
                1)  ห้องสมุด        
                2)  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
๓._ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับบริบทการพัฒนาประเทศ
http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html